top of page

ขอบคุณสำหรับทุกการสนับสนุน​

LAF แคมเปญระดมทุน

ร่วมเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนเทศกาลศิลปะร่วมสมัยแห่งจิตวิญญาณเมืองเลย Loei Art Fes (LAF) 2021!
1-15888_transparent-visa-master-png-logo

สามารถชำระด้วยบัตรเครดิตผ่านช่องทาง PayPal ได้เลย

โดยไม่จำเป็นต้องมีบัญชีผู้ใช้ Paypal

สำหรับผู้บริจาคที่มีบัญชีธนาคารในประเทศไทย:

  • ธนาคาร: กสิกรไทย

  • ชื่อบัญชี Wayla Amatathammachad

  • เลขที่บัญชี 041-2-54279-9

LAF_Fundraising_Logo.png
ของขวัญบริจาค
6.1_Tier.jpg
การบริจาคของคุณจะนำไปสู่
6_Be part of our future-35.png

เติมพลัง

ให้ศิลปินและผู้สร้างสรรค์ในพื้นที่โดยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต้นทุนการผลิตสำหรับการจัดนิทรรศการศิลปะของศิลปินท้องถิ่น และศิลปินที่มาร่วมงานบนพื้นที่สาธารณะ ค่าใช้จ่ายรวมค่าขนส่ง การติดตั้ง การบำรุงรักษางานศิลปะที่จัดแสดงทั้งชั่วคราวและถาวร

แบ่งปัน

ที่พักและพื้นที่การทำงานสำหรับเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครทั้งก่อนและระหว่างงานเทศกาล LAF ยิ่งเราให้โอกาสทีมงานและศิลปินได้ฝังตัวอยู่ในชุมชนได้นานเท่าไหร่ เราก็ยิ่งสามารถสร้างสรรค์และสร้างเครือข่ายที่แข็งแกร่งและยั่งยืนได้มากขึ้นเท่านั้น

สร้างสรรค์

สารคดีเพื่อเก็บบันทึกจิตวิญญาณของจังหวัดเลยในงาน LAF สารคดีจดหมายเหตุนี้จะกลายเป็นสินทรัพย์ให้เราและชาวเลยได้ใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมและแสดงวิสัยทัศน์เพื่อการดำเนินการต่อไปในอนาคต

1. LAF คืออะไร?

1_What is LAF_.png

Loei Art Fes หรือ LAF เป็นเทศกาลศิลปะร่วมสมัยของชุมชนในจังหวัดเลยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย LAF เกิดจากความร่วมมือของเครือข่ายประยูรเพื่อศิลปะและชมรมศิลปินและนักสร้างสรรค์จังหวัดเลย (LACC) รวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่อื่น ๆ อีกมากมาย ที่มารวมตัวกันเพื่อส่งพลังและเผยแพร่เสน่ห์ของจังหวัดเลย ในขณะที่เรากำลังปรับตัวให้เข้ากับ 'ความปกติใหม่' ของสถานการณ์ Covid-19 เราได้กำหนดการจัดงานเทศกาลไว้ในวันที่ 23 มิถุนายน - 31 สิงหาคม 2564 ควบคู่ไปกับเทศกาลประถิ่นของจังหวัดเลย โครงการศิลปะจำนวนมากภายในเทศกาลจะยังคงถูกพัฒนาต่อไปในท้องถิ่นหลังจากจบเทศกาล เพื่อให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเมืองสร้างสร้างสรรค์ที่ยั่งยืน

 

เทศกาลนี้ดำเนินงานโดยทีมงานผู้ให้กำเนิดเทศกาล Low Fat Art Fes ในวันนี้เราขยับขยายโยกย้ายตัวเองไปยังพื้นที่นอกกรุงเทพฯ บ้าง โดยดำเนินการภายใต้ชื่อ Loei Art Fes  (LAF) โดยตั้งใจให้เทศกาล LAF เป็นตัวจุดไฟสร้างสรรค์ให้เครือข่ายชุมชนท้องถิ่น พื้นที่สาธารณะ และตีความประเพณีใหม่ด้วยมุมมองร่วมสมัย เรามุ่งมั่นที่จะพัฒนาชุมชนเชิงสร้างสรรค์ภายใต้แผนระยะยาว 5 ปีของเรา โดยการดูแลจัดการของเรามุ่งเน้นไปที่กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน และสร้างงานศิลปะร่วมสมัยที่มีคุณภาพที่เข้าถึงได้จริงมากกว่าโรงละครกล่องสีดำหรือแกลเลอรีลูกบาศก์สีขาวทั่วๆ ไป

 

โปรแกรมงานเทศกาลของเราประกอบไปด้วย;

  • นิทรรศการศิลปะของศิลปินท้องถิ่น และศิลปินที่เข้าร่วมบนพื้นที่สาธารณะ (โดยร่วมมือพันธมิตรของเรา ได้แก่ โรงเรียนท้องถิ่น ตลาด ส่วนบริการของเทศบาล โรงพยาบาลในเมือง วัด ฯลฯ )

  • แผนที่วัฒนธรรมและเส้นทางกิจกรรมสำหรับนักท่องเที่ยว เพื่อการสำรวจสิ่งล้ำค่าต่างๆ ของจังหวัดเลย (เช่น อาหาร งานฝีมือ วัฒนธรรมพื้นเมือง ฯลฯ )

  • 'Phi Ta Khon Intervention' การแสดงสาธารณะและนิทรรศการศิลปะอันเป็นผลมาจากโครงการให้ที่พำนักอาศัยแก่ศิลปินต่างประเทศ (พักแบบเสมือนจริง) เพื่อเปิดกว้างด้านการตีความประเพณีให้หลากหลายยิ่งขึ้น

  • 'Smells like Loei Spirit’' โครงการบ่มเพาะการมีส่วนร่วมที่นำเสนอความร่วมมือกันระหว่างศิลปินมืออาชีพและนักศึกษาศิลปะของจังหวัดเลย

  • 'Dansai Chef’s Table' ทำความรู้จักเมืองด่านซ้าย จังหวัดเลย ผ่านอาหารพื้นบ้านต้นตำรับ

  • '‘Dansai Creative Well-being Project'

  • และอื่น ๆ 

2. ทำไมต้อง LAF?

2_Why LAF?.png

เพราะการสร้างสรรค์งานศิลปะ การเผยแพร่ และโอกาสในการเข้าถึงงานศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทยถูกจำกัดให้อยู่แต่ในเมืองหลวงและเมืองใหญ่ ๆ เพียงไม่กี่เมืองมาเป็นเวลานานเกินไปแล้ว และด้วยสถานที่สาธารณะด้านวัฒนธรรมและการพีกผ่อนหย่อนใจในจังหวัดเลยที่มีอยู่อย่างจำกัด นักเรียนรุ่นใหม่จึงมีเพียงอินเทอร์เน็ตเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์เท่านั้น แต่เราเชื่อว่าทุกคนควรมีโอกาสเข้าถึงงานศิลปะ และงานศิลปะควรผสานรวมเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในชีวิตประจำวันของเรา LAF จึงมีเป้าหมายที่จะใช้เลนส์ของศิลปะร่วมสมัยมาปรับใช้กับทรัพยากรอันอุดมสมบูรณ์ของจังหวัดเลยให้เป็นประโยชน์ เพื่อ ...

  • เติมพลังใจให้กับชุมชน

  • ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนท้องถิ่น

  • ปลูกฝังเมล็ดพันธุ์เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

  • เป็นสะพานเชื่อมสู่ความเป็นอยู่ที่ดีของผู้อยู่อาศัยในระยะยาว

 

ภารกิจของเราคือการสร้าง LAF ให้เป็นโครงการต้นแบบสำหรับการริเริ่มการพัฒนาสังคมและวัฒนธรรมท้องถิ่นในจังหวัดอื่นๆ ในประเทศไทยในอนาคต

3 . ทำไมต้องเป็นจังหวัดเลย?

3_Why LOEI?.png

จังหวัดเลยเป็นสถานที่แบบไหน และอะไรคือ 'จิตวิญญาณ' ของเลยกันแน่?

 

เลยเป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยที่มีความเป็นเอกลักษณ์สูง มีวัฒนธรรมหลากหลายที่เป็นมรดกสืบทอด รวมไปถึงทิวทัศน์ที่สวยงาม คุณค่าทางมานุษยวิทยา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งความผูกพันทางสังคมของชาวเลย วิถีชีวิตส่วนใหญ่ในจังหวัดเลยผสมผสานข้ามไปมาระหว่างพระพุทธศาสนาและความเชื่อเรื่องลัทธินับถือผีที่ส่งต่อกันมาหลายชั่วอายุคน ความเชื่อทางจิตวิญญาณของจังหวัดเลยถักทอเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างทางสังคมร่วมสมัยได้อย่างกลมกลืนสิ่งเลื่องชื่อที่สุดของจังหวัดเลยคือการจัดงานเทศกาลผีตาโขน นอกจากนี้เลยยังเพียบพร้อมไปด้วยพลเมืองท้องถิ่นที่กระตือรือร้นต้องการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาจังหวัดด้วยจิตวิญญาณที่เอื้อเฟื้อแบ่งปันและเอื้ออาทร อันมีที่มาจากประเพณี  "เอาแฮง" หรือการร่วมมือร่วมใจกันเก็บเกี่ยวพืชผลหรือทำบางสิ่งบางอย่างให้สำเร็จ ที่สำคัญที่สุดคือจังหวัดเลยมีการส่งออกนักเรียนศิลปะไปยังเมืองใหญ่อื่น ๆ เป็นจำนวนมาก

 

เรามุ่งมั่นที่จะรวบรวมจิตวิญญาณและทรัพยากรล้ำค่าอันเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดเลยเข้าไว้ด้วยกัน ผ่านกระบวนการแทรกแซงทางศิลปะ และสร้าง "มงคล" หรือการเสริมพลังความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ชุมชนในท้องถิ่นเพื่อนำไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจและการมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน หมายเหตุส่วนตัวคือเราต้องการสร้างจังหวัดเลยให้เป็นบ้านอันอบอุ่นของผู้ความคิดสร้างสรรค์ เราเชื่อว่าการเคลื่อนไหวครั้งนี้จะสามารถจุดประกายให้อุตสาหกรรมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในจังหวัดเลย เพื่อสร้างทางเลือกให้แก่เยาวชนผู้มีความสามารถได้อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมอันอุดมสมบูรณ์ตามที่พวกเขามี ในขณะเดียวกันก็มีโอกาสในชีวิตที่ไม่ต่างกับผู้ที่ใช้ชีวิตในมหานครใหญ่ ๆ

 

พูดง่ายๆ ก็คือเราต้องการลดช่องว่างทางโอกาส และพาเหล่าศิลปินกลับคืนสู่บ้านเกิดนั่นเอง

4. กิจกรรมที่เราดำเนินการในอดีต

ตั้งแต่กลางปี 2020 เราได้เดินทางไปจังหวัดเลยเพื่อทำกิจกรรมร่วมกับชุมชนเป้าหมายของเรา โดยกระบวนการมีส่วนร่วมเหล่านี้ (ได้แก่ การสัมภาษณ์ การประชุมเชิงปฏิบัติการ การประชาพิจารณ์ และการสัมมนา ฯลฯ ) ล้วนมีความสำคัญต่อการดูแลจัดการของเรา เนื่องจากเราให้ความสำคัญต่อการรับฟังเสียงของชาวจังหวัดเลยและหลีกเลี่ยงการบุกรุกยึดครองพื้นที่ การมีปฏิสัมพันธ์กับชุมชนให้มากที่สุดจึงช่วยสร้างเทศกาลที่มีเอกลักษณ์และชุมชนเข้าถึงได้ สิ่งสำคัญที่สุดคือการสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของให้แก่ชาวเลย ทั้งในตัวงานเทศกาลและนิยามความเป็นวัฒนธรรมร่วมสมัยในระยะยาว


เรามีพันธมิตรทั้งในอำเภอเมือง วังสะพุง ด่านซ้าย หนองหิน และเชียงคาน โดยมีผู้ร่วมสร้างสรรค์หลากหลายจากในพื้นที่ ได้แก่ พระสงฆ์ ผู้นำทางจิตวิญญาณ แพทย์จากโรงพยาบาล ผู้ประกอบการ นักเรียนประถมศึกษา กลุ่มเยาวชน อาจารย์มหาวิทยาลัย เจ้าหน้าที่เทศบาล ช่างฝีมือ คนเฒ่าคนแก่ที่มีภูมิปัญญา และเหล่าชาวบ้านเป็นต้น

 

เรามุ่งมั่นที่จะปลูกเมล็ดพันธุ์เพิ่มขึ้น และสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาคเอกชน ภาครัฐ และภาคพลเมือง

เยี่ยมชมแกลเลอรี่แสดงภาพถ่ายกิจกรรมในจังหวัดเลยที่เราดำเนินการไปก่อนหน้านี้ โดยกิจกรรมเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบ่มเพาะ รวมไปถึงโครงการ "STAR TIER" ต่างๆ ของเรา

5. แผนการอนาคตของเรา

5_Our plans in the future.png

เป้าหมายการเคลื่อนไหวระยะยาวของเราคือการพัฒนาจังหวัดเลยให้เป็นเมืองแห่งเทศกาลศิลปะที่ยั่งยืนภายใน 5 ปีโดยผ่านการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน (Low Fat Art Fes Vol. 4 - 6)

 

ขอบเขตการทำงานของเราคือการสร้างความสมดุลร่วมกันระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวและคุณภาพชีวิต โดยวันนี้เราได้เริ่มต้นการทำงานร่วมกันระหว่างภาคพลเมืองขึ้นแล้ว และเรามุ่งมั่นที่จะผลักดันการเคลื่อนไหวนี้ให้ไกลไปสู่ระดับการกำหนดนโยบาย และการประสานงานกับโครงสร้างพื้นฐานของชุมชน

 

นอกจากนี้ การปลูกเมล็ดพันธุ์ให้กับคนรุ่นใหม่ยังเป็นสิ่งสำคัญที่เรามองภาพไว้ในอนาคต

 

หนึ่งในผู้สนับสนุนหลักของเราในจังหวัดเลยคือ “แก๊งคานวาส” กลุ่มนักศึกษาศิลปะแห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ผู้นอกจากจะเข้าร่วมกิจกรรมของเราแล้ว พวกเขายังเป็นส่วนหนึ่งของชมรมศิลปินและนักสร้างสรรค์จังหวัดเลย พวกเขาได้รับแรงบันดาลใจจากเราและค่อย ๆ เข้ามาครอบครองเป็นเจ้าของทรัพยากรในท้องถิ่นเพื่อสร้างเส้นทางอาชีพในอนาคต

 

นอกจากนี้ยังมีคนรุ่นใหม่ในชุมชนชาติพันธุ์ไททรงดำ อำเภอเชียงคาน ผู้ได้หวนกลับมาสำรวจมรดกของพวกเขา โดยมองผ่านเลนส์ของศิลปะร่วมสมัยในโครงการ “ค่ายเยาวชนเล่าเรื่องใหม่” ที่เราตั้งใจปลูกเมล็ดพันธุ์ในการสร้างความผูกพันระหว่างคนรุ่นใหม่และคนรุ่นเก่า รวมไปถึงการอนุรักษ์วัฒนธรรม และเราได้แนะนำให้เด็กๆ ได้รู้จักศิลปะนามธรรมและศิลปะแบบสหสาขาเป็นครั้งแรก มีนักเรียนคนหนึ่งได้แสดงความคิดเห็นว่า “หนูเพิ่งรู้ว่าการแสดงไม่จำเป็นต้องใช้คำพูดก็สามารถสื่อสารออกมาได้” และต่อมาเธอได้ก่อตั้งชมรมสร้างสรรค์ขึ้นมาในโรงเรียนมัธยมปลายของเธอ ด้วยเหตุนี้ เราจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การเคลื่อนไหวของเราจะมีส่วนสร้างแรงบันดาลใจให้แก่คนอื่น ๆ เพิ่มขึ้นอีกมากมาย

bottom of page